Latest Update

ေကၜာန္ဍာံဒးဒွ္၊ ေကတ္ဍာံဒးဂြံ၊ အာဍာံဒးစိုပ္

Wednesday, July 24, 2013

หนังสือของชาติพันธุ์ จะต้องมีสิทธิ์ในการเรียนตามกฎระเบียบด้วยนั้น และขอให้ยึดมั่นตามกฎหมายด้วย จากเจรัก ด้านการศึกษาได้ยื่นคำร้องไว้



สำนักข่าวหงส์ทอง: เสาร์ ที่ 19 ก.ค 56 

ในพื้นที่ของชาติพันธุ์เอง ตามหลักสูตรหนังสือภาษาของแต่ละชนเผ่า จะต้องมีสิทธิ์ในการเรียนการสอนตามกฎระเบียบของการศึกษา โดยที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้น  ควรต้องยึดมั่นตามกฎหมายอย่างแท้จริง  ดร.เต็งลุน จากเจรัก ที่ดำเนินการเรื่องการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษานั้น กล่าว  

เพื่อที่จะได้เรียนรู้ด้าน หนังสือ ภาษา ของเหล่าชาวชาติพันธุ์นี้นั้น จะได้เขียนร่างบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อย่างชัดเจน มันยังไม่มีมาก่อน   ฉะนั้น ต้องบัญญัติใส่ในรัฐธรรมนูญอันดับแรกและต้องดำเนินการเป็นอันดับแรก   เนื่องจากยังไม่มีกฎระเบียบนี้เอง  เพื่อที่จะได้สิทธิ์นั้น จึงต้องไปยื่นเรื่องกับ จนท.รัฐที่ที่เกี่ยวข้องอยู่บ่อยๆ  ด้วยเหตุนั้นเรื่องสำคัญที่สุด คือต้องมีกฎหมายออกมา ดร. เต็งลุน กล่าว
 
หวังกับ การพูด หนังสือ ภาษาของชาติพันธุ์ จะได้พัฒนาขึ้น แล้วในแต่ละโรงเรียนในพื้นที่ของเหล่าชาติพันธุ์นั้น จะต้องมีสิทธิ์ในการศึกษา ตามกฎหมาย ด้วยแนวทางสามภาษา “Tri-Language Teaching System” คือ ภาษาแม่(ภาษาถิ่น) ภาษาพม่า และภาษษอังกฤษนั้น ได้ทำการเรียกร้องอยู่เหมือนกัน 

เพื่อที่จะได้เป็นระบบแนวทาง “Tri-Language Teaching System” นี้นั้น  ในหนังสือระบบการศึกษาพื้นฐาน(ฉบับเบื้องต้น)จากเจรักที่ดำเนินการเรื่องการปรับเปลี่ยน ระบบการศึกษา ได้ยื่นเรื่องให้กับกรรมการด้านการพัฒนาการศึกษา (ในรัฐสภา)ไว้แล้ว และได้เขียนร่างไว้จนครบแล้วด้วย  

ตามที่ได้นำเสนอ แบบรบบการศึกษา(ฉบับเบื้องต้น) นี้  หากทางสภายอมรับเป็นมาตรฐาน ในระบบการศึกษาของประเทศพม่า ที่ดำเนินการอยู่ในตอนนี้นั้น  มีแนวโน้มที่จะใช้ฉบับเบื้องต้นนี้ใส่แทนอยู่ ดร.เต็งลุน นั้นกล่าว  

เร็วๆนี้ แค่นำเสนอให้กับคณะกรรมการด้านการพัฒนาระบบการศึกษา (ในรัฐสภา) เท่านั้น   ยังไม่ถึงขั้นที่จะนำเข้าไปประชุมหารรือกันในสภา พวกเรากำลังไปพบปะกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง  ท่านพูดว่า เป็นการดีและต้องไกล่เกลี่ยกับกระทรวงศึกษาด้วย  ท่านว่า จะรับเข้าไปหารือกันในสภาอีกด้วย ดร.เต็งลุน กล่าว 

องค์กรเจรักปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาทั่วทั้งประเทศ และงานเจรจาที่เกี่ยวเนื่องทั่วทั้งประเทศ ครั้งแรกนั้น ด็จัดขึ้นมา แล้วระบบการศึกษาของชาติพันธุ์ (ฉบับเบื้องต้น) ที่เข้ากับใน 13 มาตรานั้น ก็เขียนร่างขึ้นมาได้เช่นกัน  

ในหนังสือฉบับเบื้องต้นนี้ ในมาตราที่ 12 นั้น เกี่ยวกับการศึกษาด้านภาษาถิ่น หนังสือ ของชาติพันธุ์เสร็จแล้ว  เพื่อที่จะทำการพัฒนาและอนรักษ์ ภาษา หนังสือและวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ จะได้แพร่หลายขึ้นนั้น โรงเรียนในพื้นที่ของเหล่าชาติพันธุ์ จำเป็นต้องใช้ภาษาถิ่น ในการเรียนภาษาพม่ากับภาษาอังกฤษนั้น ก็ต้องสอนเป็นภาษาที่สอง ได้เขียนนำเสนอไว้อย่างนั้น  

ในรัฐธรรมนูญ แม้ไม่ได้การระบุไว้ก็ตาม  แต่ทางพรรคที่ติดอาวุธของชาติพันธุ์นั้น ในโรงเรียนชนเผ่าของแต่ละชนเผ่าของพวกเขา ได้จัดการเรียนการสอนด้วยระบบ “Tri-Language Teaching System”นี้ เป็นเวลานานหลายสิบปีมาแล้ว  

แต่ยังครอบคลุมไม่ทั่วชนเผ่าของตน ได้เปิดการเรียนการสอนมา แค่เพียงครึ่งๆกลางๆเท่านั้น
เกี่ยวกับหนังสือและภาษาของชาติพันธุ์นั้น  ครั้งหนึ่งในพื้นที่แต่ละรัฐของชาติพันธุ์ เคยได้รับสิทธิ์ในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการมาแล้ว   ตั้งแต่ ปี 1948 – 1974  ก่อนจะถึงสมัยของพรรค(เมียรม่า ซอซีลิด ลานซินปาตี – สมัยเผด็จการ) นั้น ทราบว่าเคยได้รับสิทธิ์ดังกล่าวนั้น   ต่อมาได้ทำการปิดสิทธิในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการด้งกล่าวนั้น และเพื่อให้ได้สิทธิ์นั้นกลับมาอีก ทางชาติพันธุ์ ได้เรียกร้องอยู่จนถึงทุกวันนี้  พรรคของชาติพันธุ์ต่างพากันกล่าว.

0 comments:

Facebook Fan Page