Latest Update

ေကၜာန္ဍာံဒးဒွ္၊ ေကတ္ဍာံဒးဂြံ၊ အာဍာံဒးစိုပ္

Monday, May 27, 2013

ผู้ลี้ภัยสงครามชาวคะฉิ่น ลำบากในเรื่องการสนับสนุนอยู่

อ้ายป้อน นักข้าวเอกชนมอญ:พุธ ที่ 22 พ.ค 56 :สำนักข่าวสารหงส์ทอง 

                     ผู้ลี้ภัยสงคราม ลายซา (ภาพ - KIA)

ในรัฐคะฉิ่นนั้น กกล.อิสรภาพรัฐคะฉิ่น KIA และ กกล.รัฐบาลพม่า เนื่องจากเกิดการต่อสู้กันนั้นเอง ประชาชนชาวคะฉิ่น 

จึงกล่ายเป็นผู้อพยพ  แม้จะอยู่ในค่ายอพยพก็ตาม  จนทุกวันนี้ต้องหายด้วยการช่วยเหลือที่ติดๆขาดอยู่  อูตุยปีซา หน.ค่ายอพยพนั้นกล่าว  

“ พวก NGO จากต่างประเทศที่ให้การชวยเหลือก็ต้องเข้ากับรัฐบาลก่อน  ไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล 

อย่างไงก็มาไม่ได้ ด้วยเหตุนั้นเอง จนทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการชวยเหลือจากผู้สงเคราะห์ของ NGO จากในเมืองก็ดี 

การช่วยเหลือจากผู้สงเคราะห์ของ NGO จากต่างประเทศก็ดี  ยังมาไม่ถึงเลยสักกลุ่ม  ด้วยเหตุนั้นจึงไม่มีใครอิ่มท้องกัน”

การสู้รบนี้ยืดเยื้อมานานเกือบ 2 ปีมาแล้ว ผู้ลี้ภัยเองก็เพิ่มจำนวนขึ้น ถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นกว่าคนแล้ว

ในจำนวนหนึ่งหมื่นห้าแสนกว่าคนนั้น สองในสามนั้น เข้าไปอยู่ที่ค่ายอพยพลี้ภัยสงคราม เขตพื้นที่ KIO  แล้วที่เหลือนั้น อยูในค่ายเขตการปกครองของรัฐบาล

สำหรับผู้ลี้ภัยเหล่านนี้  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัย เรื่องเสบียง เช่น น้ำ อาหาร  เรื่องสาธารณสุข

และเรื่องการศึกษา ทุกอย่างติดขัดมาก ควรต้องเป็นห่วงมาก  เช่นนั้น เมื่อเดือน ต.ค ปี 2012  จากกลุ่ม The Gage

ที่อาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ นั้น ได้ประกาศข่าวไว้

 “ ที่เกิดสถานการณ์ขั้นนี้นั้น รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการเอง ผมเห็นเป็นเช่นนั้น ต้องพูดให้ชัดเจน คือ อยากจะบีบบังคับ KIO

แล้วจึงได้ทำอย่างนี้  ผู้ลี้ภัยที่เข้าไปอยู่ในเขตพื้นที่ของ KIO  จะได้ถึงขั้นวิกฤษ นั้น รัฐบาลดำเนินการอยู่” อูตุยปีซา กล่าว

ที่เห็นอยู่ตามตาในขณะนี้ คือผู้ลี้ภัยที่อยู่ในพื้นที่ของ KIO นั้น ได้รับการช่วยเหลือจากผู้สงเคราะห์บางท่านจากต่างประเทศ

เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง   ผู้ลี้ภัยที่เข้าภึงตัวเมือง ที่อยู่ในเขตการปกครองของรัฐบาลเอง ก็ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่ม

NGO ไหนเลย   ค่ายอพยพที่รัฐบาลเปิดไว้และควบคุมอยู่ใกล้ๆเป็นการโชว์นั้น ก็ได้รับการช่วยเหลือเล็กๆน้อยอยู่บ้าง  การช่วยเหลือที่ว่านั้น ทาง UN กับ NGO บางกลุ่มให้การช่วยเหลืออยู่เล็กๆน้อยนั้น

ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มบาตรหลวงของพระคริตส์  อาจารย์ตูจา ซึ่งเป็นบาตรหลวง นั้นกล่าว

ในรัฐคะฉิ่นนั้น เนื่องจาก ยังมีการสู้รบอยู่นั้นเอง  การที่จะส่งกลับผู้ลี้ภัยชาวคะฉิ่นนั้น ยังไม่ดำเนินการ
 กรรมการของค่ายอพยพน้นกล่าว แต่ว่าทางรัฐบาลนั้นมีความต้องการอยากให้ส่งกลับโดยเร็ว

เมื่อวันที่ 11 พ.ค 56 ที่ผ่านมานั้น ตัวแทนของพรรคด้านการพัฒนารัฐฉาน SSPP

และตวแทนของรัฐบาลได้ไปถึงค่ายลี้ภัยชาว ตะไอ/ปะหล่อง ที่อยู่ในเมืองตะยานทางเหนือของรัฐฉานนั้น 

เพื่อที่ผู้ลี้ภัยจะได้กลับภูมิลำนาวนั้นได้ประชาสัมพันธุ์ไว้เช่นกัน

ในวันที่ 15 พ.ค 56 นั้น ได้แบ่งข้าวสารให้ แล้วอนุญาตให้กับผู้ลี้ภัยชาวตะไอกลับ แล้วปิดค่ายอพยพนั้นไป

อย่างไรก็ตามผู้ลี้ภัยเหล่านี้ไม่มีใครยอมกลับภูมิลำนาว แล้วยังล่าช้าอยู่ในเมืองตะยานอีก อูหม่องโก จากกลุ่มกรรมการภาษและวัฒนธรรมนั้นกล่าว  

“กลับไปบ้านใครบ้านมัน  พอถึงที่นั้นก็ฟันไร่ ทำสวนก็อยู่กันไป ทางพวกพูดมาอย่างนี้นั้น
 คำนวนดูแล้วช่วงนี้ไม่ใช่ช่วงที่ฟันไร่ได้ ด้วยเหตุนั้นผู้ลี้ภัยจึงไม่กลับกัน และยังอาศัยกันอยู่ในเมืองนั้นอีก”

ลักษณะเดียวกัน ในวันที่ 21 พ.ค 56 นั้น ที่ค่ายผู้ลี้ภัยเตาะโป มีคนอาศัยอยู่ประมาณหมื่นกว่าคนนั้น

นำโดยรองผู้ว่าจังหวัด ตาก(ประเทศไทย) ได้เรียกจัดงานชี้แจงเรื่อง ที่จะได้กลับภูมิลำนาวของตนเช่นกัน

อย่างไรก็ตามในจำนวนผู้คนหมื่นกว่าคนนั้น มีผู้ต้องการที่จะกลับภูมิลำนาวที่แท้จริงเพียง 28 คนเท่านั้น 

เนื่องจากมีสภานการณ์อย่างนี้นี้เอง ในพื้นที่ของรัฐคะฉิ่นเองการสู้รบของกกล.KIA กับ กกล.รัฐบาลยังมีอยู่อีก 

แล้วผู้ลี้ภัยที่อยู่ในเขตพื่นที่ของ KIO จึงไม่ยอมกลับกัน  ที่ชาวรัฐคะฉิ่นกล่ายเป็นลี้ภัยนั้น

กกล.รัฐบาลเองเป็นผู้บีบบังคับและผลักดันไว้

พรรค KIO นั้น ในปี 1994 ได้หยุดยิงกับรัฐบาลไว้ ในเดือน มิ.ย ปี 2011 นั้น ฝ่ายรัฐบาลได้ตั้งให้เป็นกกล.รักษาชายแดน 

ทาง KIO ไม่ยอมรับ แล้วรัฐบาลหาเรื่องแล้วก่อสงครามขึ้น  ด้วยเหตุนั้น ประชาชนในพื้นที่ของรัฐคะฉิ่นจึงต้องลี้ภัยสงครามกัน จำนวนนับแสนกว่าคน.....

0 comments:

Facebook Fan Page